0 4323 2700

การฟื้นฟูหัวใจสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว (Cardiac Rehabilitation in Congestive Heart Failure)

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหากได้รับการรักษา

    ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวหากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง มีวินัยในการดูแลสุขภาพ ควบคุมอาหาร ลดเค็ม และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิต ลดอัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางร่างกายให้ดีขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆได้ดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ การออกกำลังกายในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่กล่าวมาข้างต้นได้เช่นกัน แต่มีข้อที่ต้องให้ความใส่ใจ คือ ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ควรออกกำลังกาย หรือควรหยุดออกกำลังกาย หากพบว่ามีอาการเพิ่มเติมดังต่อไปนี้    

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าหรือเท่ากับ 1 กิโลกรัมภายใน 24 ชั่วโมง หรือ มากกว่าหรือเท่ากับ 8 กิโลกรัมภายใน 3 วัน ดังนั้นผู้ป่วยควรชั่งน้ำหนักเป็นประจำ
  • รู้สึกเหนื่อยมากขึ้นผิดปกติในขณะพัก หายใจเร็วกว่า 30 ครั้งต่อนาที
  • อัตราการเต้นของหัวใจขณะพักมากกว่า 120 ครั้งต่อนาที หรือใจสั่นผิดปกติ
  • ขาบวมมากขึ้น ปัสสาวะออกน้อยลง นอนราบไม่ได้

    นอกจากหมั่นสังเกตอาการต่างๆแล้ว ผู้ป่วยควรฝึกหายใจเป็นประจำ ดังนี้    

ท่าที่ 1

    หายใจเข้าทางจมูกท้องป่อง หายใจออกทางปากท้องแฟบ  

ท่าที่ 2

หายใจเข้าทางจมูกชายโครงบาน หายใจออกทางปากชายโครงแฟบ  

ดาวน์โหลดคู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว

Read 12366 times

ติดต่อเรา

0 4323 2700  อัตโนมัติ 

The following link is provided to report a patient safety or quality-of-care concern to JCI

ติดตามเรา