0 4323 2700

ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดกับวัคซีนโควิด–19 Featured

กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่หากเกิดการติดเชื้อไวรัส COVID-19

กลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่หากเกิดการติดเชื้อไวรัส COVID-19 อาจมีความรุนแรงของโรคและอาจเกิดอันตรายมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นการได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิต และช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

ผู้ป่วยกลุ่ม โรคหัวใจและหลอดเลือด กับ วัคซีนโควิด – 19 แยกออกเป็น

กลุ่มที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ
     เคยป่วยเป็นโรคหัวใจ ในกรณีที่เป็นโรคหัวใจแล้ว เช่น เป็นภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบ เคยได้รับการวินิจฉัยแล้วหรืออาจจะเคยได้รับการรักษามาก่อนแล้ว เช่น การสวนหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดบายพาส

กลุ่มปัจจัยเสี่ยงของการนำไปสู่การป่วยเป็นโรคหัวใจ
     คือกลุ่มที่มีภาวะของกล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวผิดปกติ ซึ่งส่วนนี้ก็มีจากหลายสาเหตุ เช่นอาจจะมีกล้ามเนื้อหัวใจที่หน้าผิดปกติ กล้ามเนื้อหัวใจที่บีบน้อยกว่าปกติ

กลุ่มที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหว
     ซึ่งภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะจริง ๆ มีอยู่หลายโรค ซึ่งบางโรคก็อาจจะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้ หรือบางโรคเป็นโรคที่ต้องใช้ยาประคับประคอง รวมไปถึงกลุ่มคนไข้ที่มีภาวะโรคพิการหัวใจตั้งแต่กำเนิด เช่น ไม่ว่าจะเป็นผนังเชื่อมระหว่างห้องหัวใจ ห้องบน หรือห้องล่าง ที่มีรูเชื่อมผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด พวกนี้ล้วนเป็นโรคหัวใจทั้งสิ้น

     สำหรับในกลุ่มผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ซึ่งกลุ่มนี้จะสามารถเพิ่มความเสี่ยง ในกรณีที่บุคคลท่านนั้นติดโควิด-19 ทำให้โรคสามารถมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีผลกระทบต่อหัวใจมากยิ่งขึ้น และในเฉพาะกลุ่มที่เป็นโรคและมีความเสี่ยง ควรจะได้รับการฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 

     ปัจจุบันเราทราบข้อมูลแล้วว่า การฉีดวัคซีนในหลาย ๆ ครั้งไม่ได้หมายความว่าฉีดเพื่อไม่ให้ติดโรคโควิด-19 แต่เป็นการฉีดเพื่อช่วยให้ลดความรุนแรงของโรคได้ ซึ่งปัจจุบันข้อมูลก็บอกว่า บุคคลที่ฉีดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่เป็นโรคหัวใจ สามารถที่จะลดความรุนแรงของโรค ในการที่จะลดอัตราการเสียชีวิต ลดอัตราความรุนแรงของโรคในการที่จะต้องนอนโรงพยาบาล ปัจจุบันการลดความรุนแรงของโรคก็อาจจะทำให้เราเหมือนเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา

     ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรับวัคซีนโควิด-19 ถ้าเป็นข้อมูลของต่างประเทศ ปัจจุบันอัตราส่วนน้อยมาก ๆ พบประมาณ 4 ใน 1 ล้านคน ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่ค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตามต้องมีการศึกษามากขึ้นในแต่ละตัวที่เข้ามาในเมืองไทย แต่ปัจจุบันยังคงยืนยัน และมีข้อมูลชัดเจนว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถที่จะลดความรุนแรงของโรคและสามารถที่จะลดอัตราการเสียชีวิตได้ และแนะนำให้ทุกคนควรจะฉีด และสุดท้ายในฐานะอายุรแพทย์โรคหัวใจคงไม่เฉพาะคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจเท่านั้นที่ควรได้รับวัคซีน แต่เราควรจะฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 สำหรับทุกคนเพื่อตัวคุณเองและเพื่อพวกเราทุกคน

โดย:นพ.วิโรจน์ เมืองศิลปศาสตร์
รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์หัวใจและหลอดเลือด และรักษาการรองหัวหน้างานผู้ป่วยวิกฤต
โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

Read 3540 times

ติดต่อเรา

0 4323 2700  อัตโนมัติ 

The following link is provided to report a patient safety or quality-of-care concern to JCI

ติดตามเรา