0 4323 2700

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

“ในช่วงการนอนหลับ สมองไม่ได้หยุดทำงาน แต่เป็นช่วงจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นระบบ เ

ชื่อมโยงความจำระยะสั้นให้เป็นระยะยาว จัดระเบียบความคิด การหยุดหายใจขณะหลับทำให้ออกซิเจนในกระแสเลือดลดต่ำลง หล่อเลี้ยงอวัยะต่างๆ ไม่เพียงพอ สมองจะมีการตรวจจับระดับออกซิเจนและสั่งการกระตุ้นให้ตื่นตัว เพื่อให้หายใจรับออกซิเจน ทำให้คนนอนกรนมีช่วงการหลับลึกสั้น เป็นการหลับระยะตื้นๆ อยู่ตลอด หากปล่อยไว้นาน นอกจากมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง อย่างโรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง ยังเพิ่มโอกาสการเป็นโรคสมองเสื่อมสูงขึ้น"

>>นอนกรนดังประจำ เสี่ยงหัวใจหยุดเต้น

ทั้งนี้ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea, OSA) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเนื่องจากการยุบตัว ของทางเดินหายใจส่วนต้น ทำให้ขณะหลับร่างกายจะเกิดภาวะขาดออกซิเจนเป็นช่วงๆ การนอนหลับจะขาดตอน ส่งผลต่อการทำงานของสมองจนเกิดอาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน และเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคอ้วนลงพุง ได้

ภาวะเช่นนี้ พบได้ในคนทุกวัย โดยเฉพาะวัยทอง และคนอ้วน หรืออาจพบในเด็กที่มีต่อมทอนซิล และอะดีนอยด์โต จากปัญหาโครงสร้างใบหน้า หรือเด็กที่อ้วน

สัญญาณเตือนภาวะหยุดหายใจขณะหลับ สังเกตจากการนอนกรนเสียงดังเป็นประจำ หายใจแรง เสียงดังเป็นพักๆ สลับนิ่งเงียบ หายใจเฮือกเหมือนสำลักน้ำลาย บางครั้งตื่นมารู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก ง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน ไม่มีสมาธิในการทำงาน ขี้ลืม หงุดหงิดง่าย วิตกจริต หรือซึมเศร้า

ทั้งนี้ หากมีอาการ ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ เพื่อเข้าตรวจวินิจฉัย และหาแนวทางการรักษา

*ที่มา : กรมการแพทย์

******************************

Read 3846 times

ติดต่อเรา

0 4323 2700  อัตโนมัติ 

The following link is provided to report a patient safety or quality-of-care concern to JCI

ติดตามเรา