คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หลังการทำหัตถการใส่อุปกรณ์พิเศษ
การรับประทานอาหารและการจำกัดน้ำ
- เด็กควรได้รับโภชนาการที่เพียงพอโดยรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ได้สัดส่วน และจำกัดปริมาณน้ำดื่มตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินในร่างกาย ภายหลังการผ่าตัด
- เด็กต้องจำกัดการรับประทานเกลือโซเดียม (1/2 ช้อนโต๊ะต่อวัน) ซึ่งมีในอาหารรสเค็ม อาหารกระป๋อง และของหมักดอง หลีกเลี่ยงการเติม เกลือ น้ำปลา หรือ ซีอิ้วเพิ่มในอาหาร
- เด็กควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเพื่อป้องกันภาวะซีด ได้แก่ ผักใบเขียว เครื่องในสัตว์ ฯลฯ
การรับประทานยา
- เด็กจะได้รับยาต้านเกร็ดเลือด เพื่อป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันรอบๆ อุปกรณ์พิเศษ หากมีอาการผิดปกติได้แก่ มีจุดจ้ำเลือดใต้ผิวหนัง ถ่ายหรือปัสสาวะเป็นเลือด เลือดกำเดาไหลบ่อยๆ อย่าหยุดยาเอง ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ ระวังการรับประทานยาร่วมกับสมุนไพรที่เสริมฤทธิ์ยา เช่น ขิง แปะก็วย ตังกุย ซึ่งจะทำให้เลือดออกมากขึ้น
การออกกำลังกาย
- การทำกิจกรรมในช่วงที่ได้รับยาต้านเกร็ดเลือด ให้งดการออกกำลังกาย เช่น การถีบจักรยาน กระโดด วิ่ง ว่ายน้ำ เล่นฟุตบอล หรือยกของหนักเป็นเวลา 1 เดือนเพื่อป้องกันอุปกรณ์หลุด
- งดออกกำลังกายที่มีการกระแทก เช่น การเล่นฟุตบอล บาสเกตบอล ตามระยะเวลาที่รับประทานยาต้านเกร็ดเลือด
การได้รับวัคซีน
- เด็กควรได้รับวัคซีนพื้นฐานตามเกณฑ์และวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติมโดยปรึกษาแพทย์ แต่งดการฉีดในขณะรับประทานยาต้านเกร็ดเลือด
การป้องกันการติดเชื้อ
- เด็กควรแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน ใช้ขนแปรงอ่อนนุ่ม เพื่อป้องกันภาวะเลือดออกตรวจสุขภาพช่องฟันสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากช่องปากสู่ลิ้นหัวใจ
การสังเกตอาการผิดปกติ
- กรณีเกิดการห้อเลือดบริเวณร่างกายให้ประคบเย็นเพื่อลดการคั่งของเลือดกรณีเกิดการห้อเลือดบริเวณร่างกายให้ประคบเย็นเพื่อลดการคั่งของเลือด
- หากเกิดอาการมึนงง หน้ามืดเป็นลม อ่อนแรง บ่อยครั้งหลังการใส่อุปกรณ์พิเศษ ให้มาพบแพทย์
- หากขาข้างที่มีการสวนหัวใจเพื่อใส่อุปกรณ์พิเศษมีสีเปลี่ยนไป อ่อนแรง เย็น รู้สึกชา ร่วมกับมีไข้สูง หนาวสั่น ให้รีบมาพบแพทย์•สังเกตอาการผิดปกติจากการเลื่อนหลุดของอุปกรณ์พิเศษ เช่น หายใจไม่อิ่ม เวียนศีรษะ
Published in
Advice for patients Pediatric