0 4323 2700

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หลังการผ่าตัดหัวใจเมื่อกลับบ้าน

 

การรับประทานอาหารและการจำกัดน้ำ

     - เด็กควรได้รับโภชนาการที่เพียงพอโดยรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ได้สัดส่วน และจำกัดปริมาณน้ำดื่มตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินในร่างกาย ภายหลังการผ่าตัด

     - เด็กต้องจำกัดการรับประทานเกลือโซเดียม (1/2 ช้อนโต๊ะต่อวัน) ซึ่งมีในอาหารรสเค็ม อาหารกระป๋อง และของหมักดอง หลีกเลี่ยงการเติม เกลือ น้ำปลา หรือ ซีอิ้วเพิ่มในอาหาร

     - เด็กควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเพื่อป้องกันภาวะซีด ได้แก่ ผักใบเขียว เครื่องในสัตว์ ฯลฯ

     - เด็กไม่ควรสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

การรับประทานยา

     - เด็กรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์ หากมีอาการผิดปกติที่เป็นอาการข้างเคียงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดยาทุกครั้งหากซื้อยารับประทานเองต้องปรึกษาแพทย์ถึงผลของยาต่อหัวใจ ไต หรือปฏิกิริยาร่วมกับยาอื่นที่ใช้รักษาอยู่

     - เด็กที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด จะมีการผ่ากระดูกหน้าอกและผูกติดกันเมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัด ความแข็งแรงของโครงสร้างกระดูกมักจะเริ่มตั้งแต่อาทิตย์ที่ 2-3 จึงควรระมัดระวังอันตรายที่จะเกิดจากอุบัติเหตุ เช่น แรงกระแทกที่หน้าอก และไม่ควรให้ผู้ป่วยยกของหนัก ภายใน 4-6 อาทิตย์ เด็กส่วนใหญ่จะสามารถทำกิจวัตรประจำวันในการช่วยเหลือตัวเองได้ ใน 1-2 อาทิตย์ และกลับไปเรียน หรือปฏิบัติงานได้หลังจาก 2 อาทิตย์ไปแล้ว

การได้รับวัคซีน

     - เด็กควรได้รับวัคซีนพื้นฐานตามเกณฑ์และวัคซีนทางเลือกเพิ่มเติมโดยปรึกษาแพทย์

การป้องกันการติดเชื้อ

     - เด็กควรตัดเล็บให้สั้นและไม่เกาแผลผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อเด็กควรตัดเล็บให้สั้นและไม่เกาแผลผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

     - เด็กควรแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้ง/วัน ตรวจสุขภาพช่องฟันสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากช่องปากสู่ลิ้นหัวใจ

     - การแคะขี้หูเด็ก ควรกระทำอย่างระมัดระวัง หากเป็นไปได้ผู้ปกครองไม่ควรทำให้เด็กเอง หรือปล่อยให้เด็กทำเอง ควรพาเด็กไปพบแพทย์โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือแพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก เพื่อทำการตรวจส่องกล้อง และเอาขี้หูออก

การสังเกตอาการผิดปกติ

     - สังเกตแผลผ่าตัดว่ามีอาการปวด บวม แดง ร้อน หรือมีไข้สูงเกิน 38 องศาเพิ่มขึ้นหรือไม่ หากมีอาการให้มาพบแพทย์สังเกตแผลผ่าตัดว่ามีอาการปวด บวม แดง ร้อน หรือมีไข้สูงเกิน 38 องศาเพิ่มขึ้นหรือไม่ หากมีอาการให้มาพบแพทย์

     - มีอาการหอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ บวม ปัสสาวะออกน้อยกว่าปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวัน ร่วมกับน้ำหนักเพิ่มจากเดิมมากกว่า 1 กิโลกรัมภายใน 1-2 วัน (หรือ 2 กิโลกรัมภายใน 3 วัน) แสดงถึงภาวะคั่งน้ำและเกลือ

     - มีอาการเป็นลม หมดสติ สีผิวคล้ำ เขียว อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน

 

Read 4414 times

ติดต่อเรา

0 4323 2700  อัตโนมัติ 

The following link is provided to report a patient safety or quality-of-care concern to JCI

ติดตามเรา