0 4323 2700

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีภาวะหัวใจวาย

 คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีภาวะหัวใจวาย

     ภาวะหัวใจวายในผู้ใหญ่ จะสังเกตได้จากอาการขาบวม หน้าบวมหอบเหนื่อย เหนื่อยง่าย แต่ภาวะหัวใจวายในเด็กอาจจะยังไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการ ดังนี้ภาวะหัวใจวายในผู้ใหญ่ จะสังเกตได้จากอาการขาบวม หน้าบวมหอบเหนื่อย เหนื่อยง่าย แต่ภาวะหัวใจวายในเด็กอาจจะยังไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการ ดังนี้

  • เลี้ยงไม่โต หมายความว่า สัดส่วนระหว่างส่วนสูง น้ำหนักตัว และอายุไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าต้องมีอะไรผิดปกติ
  • เมื่อกินนมต้องหยุดเป็นพัก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูดนมแม่หรือนมจากขวด เด็กทั่วไปจะดูดรวดเดียวหรือพักครั้งเดียวจบ ไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่เด็กที่เป็นโรคหัวใจจะทำไม่ได้ ดูดได้พักเดียวต้องหยุดหอบ แล้วค่อยกลับไปดูดใหม่ กว่าจะอิ่มต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง ตรงนี้สำคัญมากเพราะเป็นอาการที่พ่อแม่มักจะไม่ได้สังเกต และคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น หากเด็กดูดนมช้าหรือดูดแล้วหยุดเป็นพัก ๆต้องใช้เวลาในการให้นมแต่ละมื้อนานเป็นชั่วโมงหรือสองชั่วโมง ก็ให้สงสัยไว้ก่อน
  • หายใจหอบถี่ หมายความว่าอาการแย่ลง เด็กแรกเกิดอาจหายใจ 40 ครั้งต่อนาที แต่เด็กที่หัวใจวายอาจหายใจเร็วถึง 60 ครั้งต่อนาที แม้ในขณะที่นอนหลับ

     มักพบในกลุ่มที่มีเลือดรั่วจากซีกซ้ายของหัวใจไปยังด้านขวาและไปปอดมากขึ้น เด็กกลุ่มนี้จะมีอาการป่วยเรื้อรัง ผอม น้ำหนักน้อย มีปัญหาเรื่องการเลี้ยงดูไม่เจริญเติบโต เหนื่อยหอบ เหงื่อออกมากแม้อากาศเย็น ดูดนมลำบาก รับประทานอาหารได้น้อย ต้องพักเหนื่อยระหว่างรับประทาน บางครั้งมีพัฒนาการช้า เนื่องจากป่วยหนัก สีผิวซีดเซียว และบางรายก็มีอาการบวมร่วมด้วย หรือป่วยเป็นปอดบวมบ่อยๆ ในช่วงระยะเวลาก่อนผ่าตัดการให้การดูแลสุขภาพทั่วไป ดังนี้

 ด้านโภชนาการ

     ในเด็กที่เป็นโรคหัวใจและไม่มีอาการ ให้การดูแลเช่นเด็กปกติ ให้อาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในเด็กที่มีอาการหัวใจวาย มีอาการหอบบวมควรให้ลดอาหารเค็ม ให้น้ำพอสมควร

 การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน 

     ไม่ว่าเด็กจะเป็นโรคหัวใจชนิดใดให้ได้เช่นเด็กปกติ แต่ควรเลือกช่วงเวลาที่เด็กสบายๆ ไม่มีการเจ็บป่วยหนักขณะนั้น

 หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปที่แออัด 

     เพื่อไม่ให้เด็กเป็นหวัดง่ายอันจะนำมาซึ่งโรคแทรกปอดอักเสบหรือปอดบวม

 การได้รับยา 

     ผู้ปกครองต้องดูแลให้เด็กได้รับยาที่ถูกต้อง ได้แก่ ยากลุ่มเพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (ดีจิตาลิส) ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือดร่างกาย เป็นต้น

 สุขภาพปากและฟัน

     ต้องมีการดูแลสุขภาพฟัน พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน

 การเจ็บป่วย

     เมื่อเด็กป่วยเป็นไขหวัดควรพบแพทย์โดยเร็ว เด็กกลุ่มนี้มักจะไอมีเสมหะมากซึ่งหากเป็นหลายๆ วันอาจมีการติดเชื้อในปอดเป็นโรคปอดบวมแทรกได้ เมื่อเด็กเริ่มป่วยจึงควรที่จะไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ

 การออกกำลังกาย

     ต้องไม่หักโหม ไม่ควรเล่นกีฬาแข่งขัน เพราะเด็กจะหยุดไม่ได้เมื่อเหนื่อย

 อาการที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนนัด

     เหนื่อย หายใจเร็ว หายใจไม่อิ่ม ดูดนมไม่ค่อยได้ บวม นอนราบไม่ได้ ไอมาก ปัสสาวะออกน้อย น้ำหนักตัวขึ้นมากกว่าปกติ

Read 1947 times

ติดต่อเรา

0 4323 2700  อัตโนมัติ 

The following link is provided to report a patient safety or quality-of-care concern to JCI

ติดตามเรา