0 4323 2700

คำแนะนำเกี่ยวกับวัคซีน covid-19 สำหรับผู้ป่วย ศสก.

คำถามที่พบบ่อย

ถาม - ตอบ ข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีน COVID-19 สำหรับผู้ปวยโรคหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

รักษาโรคหัวใจที่ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาฉีดวัคซีนที่ รพ. ได้หรือไม่ ?

  • ไม่ได้ เนี่องจากศูนย์หัวใจไม่ได้เป็นจุดฉีดวัคซีน ขอให้ผู้ป่วยลงทะเบียนที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลศรีนครินทร์แทน ทางแอปพลิเคชัน หมอพร้อม ก่อนหน้านี้ มีข้อผิดพลาด ทำให้ชื่อศูนย์หัวใจ กลายเป็นจุดฉีดวัคซีน ให้ผู้ป่วยทุกท่านตรวจสอบและลงทะเบียนใหม่อีกครั้ง

เป็นโรคหัวใจฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจควรฉีดวัคซีน เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง หากเป็นโรค COVID-19 มีโอกาสเสียชีวิตสูง แต่ควรให้อาการของโรคคงที่ก่อน ไม่ควรไปฉีดถ้าหากยังมีอาการแน่นหน้าอก หรือหอบเหนื่อยอยู่

ทานยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือด ฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

  • สามารถฉีดได้ โดยหลังฉีด ควรกดบริเวณที่ฉีดนานอย่างน้อย 2 นาที เพื่อป้องกันการเกิดเลือดออกในชั้นกล้ามเนื้อ และ ถ้าทานยา วาร์ฟาริน (Warfarin) ควรมีผลเลือดระดับ INR ก่อนฉีดน้อยกว่า 3 ควรเจาะเลือดก่อนฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 วัน และไม่เกิน 1 สัปดาห์
  • ส่วนยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพริน โคลพิโดเกรล และยาละลายลิ่มเลือดกลุ่มใหม่ (NOACs) สามารถฉีดวัคซีนได้โดยไม่จำเป็นต้องหยุดยา

คำแนะนำการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กและวัยรุ่น อายุตั้งแต่ 12 ปี ขึ้นไป

     การระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ในปัจจุบันพบว่ามีการติดเชื้อในเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี ในสัดส่วนที่สูงขึ้น แต่ผู้ป่วยเด็กทีติดเชื้อโรคโควิด-19 ส่วนใหญ่มักมีอาการที่ไม่รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตน้อยมาก เด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่เสียชีวิต คือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังที่เป็นปัจจัยที่ทำให้โรคโควิด-19 มีความรุนแรงมายิ่งขึ้นจนถึงแก่ชีวิตได้

เด็กควรฉีดวัคซีนอะไร?

     วัคซีนทีผ่านการพิจารณาด้านความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพจากคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในขณะนี้ (ณ วันที่ 7 ก.ย. 64) มีวัคซีนโควิด-19 เพียงชนิดเดียวคือ วัคซีน mRNA ของ Pizer-BioNTech ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป

เด็กคนไหนควรฉีดวัคซีน?

วัยรุ่นอายุตั้งแต่ 16 ปีจนถึงน้อยกว่า 18 ปีทุกราย

เด็กอายุ 12 ปีจนถึง 16 ปีในกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรัง ดังนี้

  • โรคอ้วน
  • เด็กอ้วนทีมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมถึง โรคหอบหืด
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด 
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคไตวายเรื้อรัง
  • โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
  • โรคเบาหวาน
  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
  • กุล่มโรคพันธุกรรมรวมทั้งกลุ่มอาการดาวน์ เด็กที่มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทอย่างรุ่นแรง

หลังฉีด
ควรปฏิบัติตัวอย่างไร?

     งดออกกำลังกายอย่างหนักหรือการทำกิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งโด๊สที่ 1 และโด๊สที่ 2

อาการที่ต้อง
มาพบแพทย์ก่อนนัด

  • อาการเจ็บแน่นหน้าอก
  • หายใจเหนื่อย
  • หายใจไม่อิ่ม
  • ใจสั่น  
  • หน้ามืด เป็นลม

ลงทะเบียนรับวัคซีน

ดาวน์โหลดคู่มือ

การลงทะเบียนเข้าใช้งาน หมอพร้อม

วัคซีน cOVID-19 กับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

โดย: รศ.นพ.ภัทรพงษ์ มกรเวส  ผู้อำนวยการ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Read 4225 times

ติดต่อเรา

0 4323 2700  อัตโนมัติ 

The following link is provided to report a patient safety or quality-of-care concern to JCI

ติดตามเรา