คำแนะนำผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หลังการตรวจสวนหัวใจ
คำแนะนำ ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หลังการตรวจสวนหัวใจ
- ห้ามงอขาข้างที่มีแผลจากการใส่สายสวนหัวใจอย่างน้อย 6 ชั่วโมงแรก หากไม่พบความผิดปกติหรือมีภาวะเลือดออกซ้ำ หลังจากนั้นสามารถลุกนั่ง ยืน หรือเดินได้ตามปกติ
- หากมีเลือดซึมไหลออกทางบาดแผล ให้ใช้มือกดเหนือปากแผลไว้ แล้วแจ้งแพทย์หรือพยาบาลเพื่อช่วยทำการกดห้ามเลือดให้
- เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวดีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ สามารถให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารและเครื่องดื่มได้ตามปกติภายหลังการตรวจ
- กรณีที่ผู้ป่วยได้รับการฉีดสารทึบรังสีขณะสวนหัวใจ หลังการตรวจควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับสารทึบรังสีออกจากร่างกาย
- บาดแผลบริเวณที่ใส่สายสวนหัวใจจะเป็นรูเล็กๆ เมื่อกลับไปบ้านควรดูแลแผลให้สะอาด อย่าให้เปียกแฉะถ้าแผลสกปรกต้องเปลี่ยนผ้าปิดแผล เมื่อแผลแห้งก็สามารถแกะ พลาสเตอร์ออกได้ หลังจากนั้นอาบน้ำและประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ โดยทั่วไปรูที่ผิวหนังจะปิดได้เองภายใน 3 – 5 วัน
- หากมีไข้สูง บาดแผลมีการอักเสบ บวม แดง ให้รีบมาพบแพทย์
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการตรวจ
- มีก้อนนูน มีเลือดไหลซึม หรือเกิดรอยช้ำบริเวณบาดแผลที่ใส่สายสวน
- แพ้สารทึบรังสีที่ใช้ตรวจ เช่น ผื่นแดงคัน หายใจขัด ความดันโลหิตตก
- ชา หรือปวดบริเวณที่ใส่สายสวน
- มีลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะ อื่นๆ เช่น ปลายขา
- มีเลือดคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจ
- ติดเชื้อในกระแสเลือด
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ หยุดเต้นเฉียบพลัน
Published in
Advice for patients Pediatric