0 4323 2700

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

  • หลีกเลี่ยงการขาดน้ำ ไม่ควรเข้าซาวน่า ห้องอบไอน้ำ หรืออยู่ในที่อากาศร้อนมาก
  • คุมกำเนิด เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งมีโอกาสแท้งสูง ทารกตัวเล็ก และพิการ โดยเฉพาะถ้าความเข้มข้นของออกซิเจน ในกระแสเลือดน้อยกว่า 85% แนะนำให้คุมกำเนิดโดยใช้ถุงยางอนามัย ทำหมัน ใช้ยาคุมที่มีส่วนผสมของโปรเจสเตอโรน (non-estrogen) เพื่อป้องกันไม่ให้ เกิดลิ่มเลือดอุดตันจากยาคุมที่มีเอสโตรเจน และหลีกเลี่ยงการใช้ห่วงคุมกำเนิด
  • วัดค่าความเข้มข้นของออกซิเจนในกระแสเลือด และการตอบสนองต่อการให้ออกซิเจนในผู้ป่วย Eisenmengerที่ ร.พ.ใกล้บ้าน หากพบว่าผู้ป่วยมี อาการปากเขียว ปลายมือปลายเท้าเขียวมากขึ้น หายใจหอบเหนื่อย ไอเรื้อรัง หรือไอเป็นเลือด
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายแบบ isometric (เล่นกล้าม ยกน้ำหนัก) และการแข่งขัน
  • ให้การรักษาภาวะซีดจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วย Eisenmenger
  • ให้ทำการดูดเลือดที่ข้นออก (Phlebotomy) ในรายที่มีอาการจากภาวะเลือดข้น Hct >65 %และไม่มีภาวะขาดน้ำ หรือขาดธาตุเหล็กร่วมด้วย
  • .เฝ้าระวังภาวะเลือดออกผิดปกติ ต้องรีบหาสาเหตุและให้การรักษา เช่น ให้ยาลดอาการไอ,ยาละลายลิ่มเลือดอย่างระมัดระวัง ตามข้อบ่งชี้ หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดน้ำมูก
  • รักษาภาวะหัวใจวายโดยใช้ยา Digitalis และ ยาขับปัสสาวะ เป็นครั้งคราว
  • จำกัดเกลือ( ≤ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน) โดยเฉพาะรายที่มีอาการหัวใจซีกขวาวาย
  • หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา สูบบุหรี่ ท้องผูก ขาดน้ำ ไข้ ปัสสาวะมาก ท้องเสีย กินไม่ได้
  • เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดการติดเชื้อในปอดและสมอง ควรรับ influenza ทุก 1 ปี pneumococcal vaccines ทุก 5 ปี
  • ดูแลสุขภาพปากและฟัน หลีกเลี่ยงการติดเชื้อในช่องปาก การติดเชื้อช่องหู และใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยทำฟันทุกราย
  • เฝ้าระวังนิ่วในถุงน้ำดี (จุกเสียด แน่นท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา), ฝีในสมอง (มีไข้ ปวดหัวมาก อาเจียน ซึม)
  • ควรมีแท้งค์ออกซิเจนไว้ที่บ้านเพื่อใช้เมื่อมีอาการ หอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม หรือปากเขียวคล้ำบ่อยครั้งขึ้น
  • ควรใส่เครื่องกรองลิ่มเลือดที่ตำแหน่งหลอดเลือดดำใหญ่บริเวณขา (IVC filter) เพื่อป้องกันการอุดตันลิ้มเลือด ในผู้ป่วยที่เสี่ยงหรือสงสัยว่ามีลิ่มเลือดอุดกั้นในหลอดเลือดปอด(Pulmonary emboli),ภาวะฟองอากาศในหลอดเลือดดำ (air embolism)
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อไต เช่น ยาแก้ปวด, ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่สูงเหนือระดับน้ำทะเล > 4,000 ฟุต เช่น ภูเขาสูง หรือการเดินทางโดยเครื่องบิน
  • หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก หรือออกแรงหนัก (ที่ทำให้เกิดอาการหน้ามืด เป็นลมได้)
  • ต้องได้รับการตรวจอย่างต่อเนื่องกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงอย่างน้อยปีละครั้งหรือตามความคิดเห็นของแพทย์
  • ผู้ป่วยที่ได้รับยา Bosentan ควรตรวจเลือด liver function test เป็นประจำทุกเดือน เนื่องจากยาสามารถเพิ่ม aminotransferasesหรือ SGPTในการเจาะเลือดเพื่อตรวจการทำงานของตับได้ และระหว่างการใช้ยานี้อาจมีอาการวิงเวียนเกิดขึ้นได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะรวมถึงการทำงานกับเครื่องจักรเพราะอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย หากมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร มีไข้ ปวดท้อง ตัวเหลือง ตาเหลืองปัสสาวะมีสีคล้ำ มีผื่นคันตามผิวหนัง เหนื่อยง่าย ให้รีบมาโรงพยาบาล
  • ยาSildenafil สำหรับอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยเป็นผลจาก การขยายของหลอดเลือด (vasodilation) ได้แก่ ชีพจรเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำ จึงควรระวังการใช้ยานี้ร่วมกับยากลุ่ม Nitrate
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยา Beraprost ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากมีผลเสริมฤทธิ์กันในการทำให้เกิดภาวะเลือดออกง่าย หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดบาดแผล หากพบอาการวิงเวียน หลังใช้ยานี้ ให้หลีกเลี่ยงการขับขี่ยวดยานพาหนะต่างๆ หรือการทำงานกับเครื่องจักร

 คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ชนิดไม่เขียว

     ภาวะหัวใจวายในผู้ใหญ่ จะสังเกตได้จากอาการขาบวม หน้าบวมหอบเหนื่อย เหนื่อยง่าย แต่ภาวะหัวใจวายในเด็กอาจจะยังไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการ ดังนี้ภาวะหัวใจวายในผู้ใหญ่ จะสังเกตได้จากอาการขาบวม หน้าบวมหอบเหนื่อย เหนื่อยง่าย แต่ภาวะหัวใจวายในเด็กอาจจะยังไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการ ดังนี้

  • เลี้ยงไม่โต หมายความว่า สัดส่วนระหว่างส่วนสูง น้ำหนักตัว และอายุไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าต้องมีอะไรผิดปกติ
  • เมื่อกินนมต้องหยุดเป็นพัก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูดนมแม่หรือนมจากขวด เด็กทั่วไปจะดูดรวดเดียวหรือพักครั้งเดียวจบ ไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่เด็กที่เป็นโรคหัวใจจะทำไม่ได้ ดูดได้พักเดียวต้องหยุดหอบ แล้วค่อยกลับไปดูดใหม่ กว่าจะอิ่มต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง ตรงนี้สำคัญมากเพราะเป็นอาการที่พ่อแม่มักจะไม่ได้สังเกต และคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น หากเด็กดูดนมช้าหรือดูดแล้วหยุดเป็นพัก ๆต้องใช้เวลาในการให้นมแต่ละมื้อนานเป็นชั่วโมงหรือสองชั่วโมง ก็ให้สงสัยไว้ก่อน
  • หายใจหอบถี่ หมายความว่าอาการแย่ลง เด็กแรกเกิดอาจหายใจ 40 ครั้งต่อนาที แต่เด็กที่หัวใจวายอาจหายใจเร็วถึง 60 ครั้งต่อนาที แม้ในขณะที่นอนหลับ 

     มักพบในกลุ่มที่มีเลือดรั่วจากซีกซ้ายของหัวใจไปยังด้านขวาและไปปอดมากขึ้น เด็กกลุ่มนี้จะมีอาการป่วยเรื้อรัง ผอม น้ำหนักน้อย มีปัญหาเรื่องการเลี้ยงดูไม่เจริญเติบโต เหนื่อยหอบ เหงื่อออกมากแม้อากาศเย็น ดูดนมลำบาก รับประทานอาหารได้น้อย ต้องพักเหนื่อยระหว่างรับประทาน บางครั้งมีพัฒนาการช้า เนื่องจากป่วยหนัก สีผิวซีดเซียว และบางรายก็มีอาการบวมร่วมด้วย หรือป่วยเป็นปอดบวมบ่อยๆ ในช่วงระยะเวลาก่อนผ่าตัดการให้การดูแลสุขภาพทั่วไป ดังนี้

 ด้านโภชนาการ

     ในเด็กที่เป็นโรคหัวใจและไม่มีอาการ ให้การดูแลเช่นเด็กปกติ ให้อาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในเด็กที่มีอาการหัวใจวาย มีอาการหอบบวมควรให้ลดอาหารเค็ม ให้น้ำพอสมควร

 การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

     ไม่ว่าเด็กจะเป็นโรคหัวใจชนิดใดให้ได้เช่นเด็กปกติ แต่ควรเลือกช่วงเวลาที่เด็กสบายๆ ไม่มีการเจ็บป่วยหนักขณะนั้น

 หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปที่แออัด

     เพื่อไม่ให้เด็กเป็นหวัดง่ายอันจะนำมาซึ่งโรคแทรกปอดอักเสบหรือปอดบวม

 การได้รับยา

    ผู้ปกครองต้องดูแลให้เด็กได้รับยาที่ถูกต้อง ได้แก่ ยากลุ่มเพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (ดีจิตาลิส) ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือดร่างกาย เป็นต้น

 สุขภาพปากและฟัน

    ต้องมีการดูแลสุขภาพฟัน พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน

 ปัญหาด้านการเจ็บป่วย

    เมื่อเด็กป่วยเป็นไขหวัดควรพบแพทย์โดยเร็ว เด็กกลุ่มนี้มักจะไอมีเสมหะมากซึ่งหากเป็นหลายๆ วันอาจมีการติดเชื้อในปอดเป็นโรคปอดบวมแทรกได้ เมื่อเด็กเริ่มป่วยจึงควรที่จะไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ

 การออกกำลังกาย

    ต้องไม่หักโหม ไม่ควรเล่นกีฬาแข่งขัน เพราะเด็กจะหยุดไม่ได้เมื่อเหนื่อย

 อาการที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนนัด

    เหนื่อย หายใจเร็ว หายใจไม่อิ่ม ดูดนมไม่ค่อยได้ บวม นอนราบไม่ได้ ไอมาก ปัสสาวะออกน้อย น้ำหนักตัวขึ้นมากกว่าปกติ

 คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีภาวะหัวใจวาย

     ภาวะหัวใจวายในผู้ใหญ่ จะสังเกตได้จากอาการขาบวม หน้าบวมหอบเหนื่อย เหนื่อยง่าย แต่ภาวะหัวใจวายในเด็กอาจจะยังไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการ ดังนี้ภาวะหัวใจวายในผู้ใหญ่ จะสังเกตได้จากอาการขาบวม หน้าบวมหอบเหนื่อย เหนื่อยง่าย แต่ภาวะหัวใจวายในเด็กอาจจะยังไม่มีอาการดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น ผู้ปกครองต้องสังเกตอาการ ดังนี้

  • เลี้ยงไม่โต หมายความว่า สัดส่วนระหว่างส่วนสูง น้ำหนักตัว และอายุไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าต้องมีอะไรผิดปกติ
  • เมื่อกินนมต้องหยุดเป็นพัก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดูดนมแม่หรือนมจากขวด เด็กทั่วไปจะดูดรวดเดียวหรือพักครั้งเดียวจบ ไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่เด็กที่เป็นโรคหัวใจจะทำไม่ได้ ดูดได้พักเดียวต้องหยุดหอบ แล้วค่อยกลับไปดูดใหม่ กว่าจะอิ่มต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง ตรงนี้สำคัญมากเพราะเป็นอาการที่พ่อแม่มักจะไม่ได้สังเกต และคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น หากเด็กดูดนมช้าหรือดูดแล้วหยุดเป็นพัก ๆต้องใช้เวลาในการให้นมแต่ละมื้อนานเป็นชั่วโมงหรือสองชั่วโมง ก็ให้สงสัยไว้ก่อน
  • หายใจหอบถี่ หมายความว่าอาการแย่ลง เด็กแรกเกิดอาจหายใจ 40 ครั้งต่อนาที แต่เด็กที่หัวใจวายอาจหายใจเร็วถึง 60 ครั้งต่อนาที แม้ในขณะที่นอนหลับ

     มักพบในกลุ่มที่มีเลือดรั่วจากซีกซ้ายของหัวใจไปยังด้านขวาและไปปอดมากขึ้น เด็กกลุ่มนี้จะมีอาการป่วยเรื้อรัง ผอม น้ำหนักน้อย มีปัญหาเรื่องการเลี้ยงดูไม่เจริญเติบโต เหนื่อยหอบ เหงื่อออกมากแม้อากาศเย็น ดูดนมลำบาก รับประทานอาหารได้น้อย ต้องพักเหนื่อยระหว่างรับประทาน บางครั้งมีพัฒนาการช้า เนื่องจากป่วยหนัก สีผิวซีดเซียว และบางรายก็มีอาการบวมร่วมด้วย หรือป่วยเป็นปอดบวมบ่อยๆ ในช่วงระยะเวลาก่อนผ่าตัดการให้การดูแลสุขภาพทั่วไป ดังนี้

 ด้านโภชนาการ

     ในเด็กที่เป็นโรคหัวใจและไม่มีอาการ ให้การดูแลเช่นเด็กปกติ ให้อาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในเด็กที่มีอาการหัวใจวาย มีอาการหอบบวมควรให้ลดอาหารเค็ม ให้น้ำพอสมควร

 การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน 

     ไม่ว่าเด็กจะเป็นโรคหัวใจชนิดใดให้ได้เช่นเด็กปกติ แต่ควรเลือกช่วงเวลาที่เด็กสบายๆ ไม่มีการเจ็บป่วยหนักขณะนั้น

 หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปที่แออัด 

     เพื่อไม่ให้เด็กเป็นหวัดง่ายอันจะนำมาซึ่งโรคแทรกปอดอักเสบหรือปอดบวม

 การได้รับยา 

     ผู้ปกครองต้องดูแลให้เด็กได้รับยาที่ถูกต้อง ได้แก่ ยากลุ่มเพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (ดีจิตาลิส) ยาขับปัสสาวะ ยาขยายหลอดเลือดร่างกาย เป็นต้น

 สุขภาพปากและฟัน

     ต้องมีการดูแลสุขภาพฟัน พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน

 การเจ็บป่วย

     เมื่อเด็กป่วยเป็นไขหวัดควรพบแพทย์โดยเร็ว เด็กกลุ่มนี้มักจะไอมีเสมหะมากซึ่งหากเป็นหลายๆ วันอาจมีการติดเชื้อในปอดเป็นโรคปอดบวมแทรกได้ เมื่อเด็กเริ่มป่วยจึงควรที่จะไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ

 การออกกำลังกาย

     ต้องไม่หักโหม ไม่ควรเล่นกีฬาแข่งขัน เพราะเด็กจะหยุดไม่ได้เมื่อเหนื่อย

 อาการที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนนัด

     เหนื่อย หายใจเร็ว หายใจไม่อิ่ม ดูดนมไม่ค่อยได้ บวม นอนราบไม่ได้ ไอมาก ปัสสาวะออกน้อย น้ำหนักตัวขึ้นมากกว่าปกติ

 การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว

     เด็กกลุ่มนี้อาการเขียวอาจเป็นตั้งแต่แรกเกิดหรือค่อยๆ เป็นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาร้องไห้บางรายอาจมีอาการเขียวคล้ำ กวนมาก หายใจหอบลึก และอาจมีอาการตัวเกร็งเป็นลมหมดสติได้ ส่วนใหญ่มักจะเกิดในเด็กเล็กๆ ก่อนอายุ 2 ปีมักเป็นตอนเช้าๆ หรือหลังร้องไห้นานๆ เมื่อโตขึ้นเด็กกลุ่มนี้จะตัวเล็ก หอบ เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกายหรือเดินนานๆ เด็กมักจะชอบนั่งยองๆ

 ด้านโภชนาการ 

     ในเด็กที่เป็นโรคหัวใจและไม่มีอาการ ให้การดูแลเช่นเด็กปกติ ให้อาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่เด็กที่เขียวควรให้อาหารที่มีธาตุเหล็ก เช่น เนื้อสัตว์ เพื่อให้ร่างกายสร้างฮีโมโกลบินได้พอเพียงกับปริมาณของเม็ดเลือดแดง เพื่อป้องกันการเกิดอาการทางสมอง

 การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน 

     ไม่ว่าเด็กจะเป็นโรคหัวใจชนิดใดให้ได้เช่นเด็กปกติ แต่ควรเลือกช่วงเวลาที่เด็กสบายๆ ไม่มีการเจ็บป่วยหนักขณะนั้น

 การออกกำลังกาย 

     ในกลุ่มเด็กที่ไม่มีอาการทำได้เช่นปกติ (ยกเว้นบางกรณี เช่น มีการเต้นผิดจังหวะของหัวใจบางชนิด หรือลิ้นหัวใจตีบ หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ถึงแม้เด็กจะไม่มีอาการเมื่ออยู่เฉยๆ แต่อาจมีอาการมากมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เมื่อออกกำลังกาย ควรปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ให้ชัดเจนว่าสามารถออกกำลังกายได้แค่ไหน เล่นกีฬาแข่งขันได้หรือไม่ ในกลุ่มเด็กที่มีอาการส่วนใหญ่เด็กมักจะจำกัดตัวเองอยู่แล้วก็ควรปล่อยไปตามธรรมชาติ แต่ก็ต้องไม่ให้เด็กหักโหม

 การป้องกันโรคแทรกซ้อน 

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อจากฟัน, ช่องปาก, ช่องหู ต้องดูแลสุขภาพฟันให้ดีรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟัน ในเด็กที่เขียวควรระวังอย่าให้เด็กเสียน้ำมากเวลามีอาการท้องเสียอาเจียน หากมีอาการตัวเกร็งเป็นลมหมดสติให้ดูแลเด็กก่อนพามาโรงพยาบาล ดังนี้ พยายามทำให้เด็กสงบหยุดร้องไห้ ชันเข่าเด็กงอชิดหน้าอกหรืออุ้มพาดบ่า และรีบพาเด็กไปโรงพยาบาล

 การรับประทานยา 

    ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

 อาการที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนนัด

     อาการที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด ได้แก่ เขียวมากขึ้น หายใจหอบลึกมากขึ้น ซึมเพลีย ตัวอ่อนปวกเปียก การรักษาขั้นต้นที่ผู้ปกครองสามารถกระทำได้ คือให้ปลอบ เด็กให้หยุดร้องไห้งอเข่าเด็กทั้ง 2 ข้างคู้เข้าชิดหน้าอกอาจจะอุ้มขึ้นแนบอก กรณีเป็นเด็กเล็ก ถ้าเป็นเด็กโตให้นอนตะแคงเข่าคู้ชินหน้าอกให้มากที่สุด ถ้าได้ผลผู้ป่วยจะหายใจดีขึ้นริมฝีปากเริ่มกลับมาเป็นเหมือนปกติก่อนเกิดอาการ ถ้าหากทำวิธีดังกล่าวแล้วไม่ดีขึ้น ให้รีบพาผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านให้เร็วที่สุด เพื่อให้ออกซิเจนและยา และอาการอื่นๆ เช่น วูบหมดสติ ชักเกร็ง มีไข้ ปวดศีรษะ หมดสติ

 คำแนะนำ ผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หลังการตรวจสวนหัวใจ

  • ห้ามงอขาข้างที่มีแผลจากการใส่สายสวนหัวใจอย่างน้อย 6 ชั่วโมงแรก หากไม่พบความผิดปกติหรือมีภาวะเลือดออกซ้ำ หลังจากนั้นสามารถลุกนั่ง ยืน หรือเดินได้ตามปกติ
  • หากมีเลือดซึมไหลออกทางบาดแผล ให้ใช้มือกดเหนือปากแผลไว้ แล้วแจ้งแพทย์หรือพยาบาลเพื่อช่วยทำการกดห้ามเลือดให้
  • เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวดีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ สามารถให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารและเครื่องดื่มได้ตามปกติภายหลังการตรวจ
  • กรณีที่ผู้ป่วยได้รับการฉีดสารทึบรังสีขณะสวนหัวใจ หลังการตรวจควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อขับสารทึบรังสีออกจากร่างกาย
  • บาดแผลบริเวณที่ใส่สายสวนหัวใจจะเป็นรูเล็กๆ เมื่อกลับไปบ้านควรดูแลแผลให้สะอาด อย่าให้เปียกแฉะถ้าแผลสกปรกต้องเปลี่ยนผ้าปิดแผล เมื่อแผลแห้งก็สามารถแกะ พลาสเตอร์ออกได้ หลังจากนั้นอาบน้ำและประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ โดยทั่วไปรูที่ผิวหนังจะปิดได้เองภายใน 3 – 5 วัน
  • หากมีไข้สูง บาดแผลมีการอักเสบ บวม แดง ให้รีบมาพบแพทย์

 ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการตรวจ

  • มีก้อนนูน มีเลือดไหลซึม หรือเกิดรอยช้ำบริเวณบาดแผลที่ใส่สายสวน
  • แพ้สารทึบรังสีที่ใช้ตรวจ เช่น ผื่นแดงคัน หายใจขัด ความดันโลหิตตก
  • ชา หรือปวดบริเวณที่ใส่สายสวน
  • มีลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และอวัยวะ อื่นๆ เช่น ปลายขา
  • มีเลือดคั่งในเยื่อหุ้มหัวใจ
  • ติดเชื้อในกระแสเลือด
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือ หยุดเต้นเฉียบพลัน

ติดต่อเรา

0 4323 2700  อัตโนมัติ 

The following link is provided to report a patient safety or quality-of-care concern to JCI

ติดตามเรา